CHECK VALVE

รูปภาพนี้มี Alt แอตทริบิวต์เป็นค่าว่าง ชื่อไฟล์คือ CV-1-1024x333.jpg

วาล์วกันกลับ (Non-Return Valve หรือ Check Valve)

Check valve (วาล์วกันกลับ)คืออุปกรณ์ในระบบน้ำ ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้น้ำไหลย้อนกลับ ควบคุมให้น้ำไหลไปในทิศทางเดียว ตัวอย่างการใช้งานที่สำคัญคือการติดตั้งคู่กับปั๊มน้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำไหลย้อนกลับเข้าตัวปั๊มเมื่อไม่มีการเปิดใช้น้ำ หากน้ำไหลย้อนกลับเข้าปั๊มจะได้ให้ระบบรวน นำไปสู่อายุการใช้งานที่ไม่เหมาะสม โดยทั่วไปเช็ควาล์วที่นิยมใช้งานในประเทศไทยมีอยู่ 2 แบบ คือสปริงเช็ควาล์ว และสวิงเช็ควาล์ว

รูปภาพนี้มี Alt แอตทริบิวต์เป็นค่าว่าง ชื่อไฟล์คือ Screen-Shot-2564-06-23-at-20.01.37.png

SPRING CHECK VALVE (สปริงเช็ควาล์ว)

SPRING CHECK VALVE (สปริงเช็ควาล์ว) คือ วาล์วชนิดปิดกั้นน้ำให้ไหลได้ในทางเดียว เหมาะสำหรับระบบปั๊มน้ำ ซึ่งสามารถติดตั้งได้ทั้งแนวนอนและแนวตั้ง การทำงานของ วาล์วชนิดนี้จะเป็นไปโดยอัตโนมัติน้ำจะไหลผ่านวาล์วได้ในทิศทาง ที่น้ำไหลเข้าและลิ้นของวาล์วจะปิดทันทีที่น้ำหยุด เพื่อป้องกันความเสีย หายของอุปกรณ์และเส้นท่อจากแรงกระแทกย้อนกลับของน้ำ โดยส่วนมากลิ้นเปิดปิดน้ำจะทำจากไนล่อน ซึ่งเป็นวัสดุที่มีความแข็งแรงทนทาน ไม่เป็นสนิม

SWING CHECK VALVE (SWING CHECK VALVE)

SWING CHECK VALVE (สวิงเช็ควาล์ว) คือวาล์วชนิดปิดกั้น นํ้าให้ไหลได้ในทางเดียว การทำงานของวาล์วชนิดนี้จะเป็นไปโดย อัตโนมัติ คือนํ้าจะไหลผ่านวาล์วได้ในทิศทาง ที่นํ้าไหลเข้า แต่ถ้าหากมีแรงดันของนํ้าไหลย้อนกลับลิ้นที่อยู่ภายในจะปิด กั้นทันที ตัวอุปกรณ์โดยทั่วไปจะทำจากทองเหลืองทั้งหมดเพื่อป้องกันการเกิดสนิม อายุการใช้งานยาวนาน

ข้อพิจารณาในการเลือกวาล์วกันกลับ


1 วัสดุ (material)เนื่องจากวาล์วกันกลับสามารถนำไปใช้งานได้หลากหลาย เช่น การใช้งานทั่วๆ ไปอย่างงานน้ำ งานที่ต้องทนต่อแรงดันสูงอย่างงานก๊าซธรรมชาติ งานที่ทนต่อการกัดกร่อนสูงอย่างงานสารเคมี และงานที่ต้องทนต่อความร้อนและความดันสูงอย่างงานไอน้ำ เป็นต้น ดังนั้น วัสดุที่ใช้ทำวาล์วจึงต้องเลือกให้เหมาะสมกับสาร (medium) ภายในท่อ

2.มาตรฐานของวาล์ว กำหนดให้วัสดุที่ใช้ทำ เช่น Check Valve ที่ใช้ในงานก๊าซธรรมชาติ ควรเป็น Cast Steel อ้างอิงมาตรฐาน ASTM A 216 Grade WCB หรือ Forged Steel ตามมาตรฐาน ASTMA 105 Grade 2นอกจากนี้วัสดุแต่ละประเภทจะทนต่อแรงดันและอุณหภูมิ(pressure /temperature rating) ได้ต่างกัน ซึ่งเป็นที่ทราบกันว่าวัสดุแต่ละชนิดจะทนต่อ Stress ต่างกันด้วย โดยวัสดุหนึ่งๆ เมื่อเพิ่มความดันขึ้น จะทำให้การทนต่ออุณหภูมิลดลง หรือสามารถทนต่ออุณหภูมิได้สูงขึ้นเมื่อความดันลดลง จึงต้องนำค่าความดันและอุณหภูมิที่ใช้งานจริงมาเปรียบเทียบกับ pressure/temperature rating ของวัสดุวาล์วแต่ละประเภทเพื่อให้วัสดุสามารถทนต่อความดันและอุณหภูมิบนเงื่อนไขการใช้งานได้

3.ส่วนประกอบที่สำคัญของวาล์วกันกลับและมีผลต่ออายุการใช้งานของวาล์วอีกส่วน คือ สปริง สปริงที่ดีควรทน Stress ได้ดีไม่เกิดการแตกหัก มี Life cycle ที่สูง ทนต่อการกัดกร่อน และต้องการแรงดันในการเปิดหรือมี Pressure drop ต่ำโดยมี Range ความแข็งของสปริงให้เลือกหลากหลายเหมาะสมกับการประยุกต์ใช้งาน ดังนั้นวัสดุที่ทำสปริงโดยทั่วไปจึงเป็น Stainless steel แต่หากต้องใช้งานที่ทนความร้อนสูงกว่า 300 ควรเลือกสปริงที่ทำจาก Inconel

4.สำหรับการเลือกวัสดุของ Seal ที่เป็นตัวกำหนดอัตราการรั่วซึม (Leakage rate) ของวาล์วกันกลับนั้น จะแบ่งหลักๆ ได้เป็น 2 ประเภทคือ Metal to metal seal และ Soft seal โดย Soft seal จะมี Leakage rate ที่ดีกว่า Metal to metal seal หรือเป็น Zero leakage และวัสดุที่ทำ Soft seal ก็ต้องผ่านการเลือกให้เหมาะสมกับสาร ความดันและอุณหภูมิภายในท่อ โดยวัสดุที่ใช้ทำ Seal ใน Check Valve ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในงาน

คุณภาพวาล์วกันกลับที่ดีเป็นอย่างไร

ในกรณีการติด Check Valve เพื่อป้องกันกรณีแรงดันย้อนกลับไปยังสถานีก๊าซฯ ต้องติดตั้งห่างจาก Turbine meter เป็นระยะ 5D (5 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางท่อ) ตามมาตรฐาน AGA7

error: Content is protected !!