การผลิตพลังงานไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรมน้ำตาล 

อุตสาหกรรมน้ำตาลเป็นอุตสาหกรรมสินค้าการเกษตรแปรรูปเบื้องต้นที่ได้รับการปกป้องและอุดหนุน มากที่สุด ด้วยประเทศส่วนใหญ่เห็นว่าน้ำตาลเป็นสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เป็นปัจจัยความมั่นคง ทางด้านอาหาร เป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่สำคัญต่อการดำรงชีพ จากลักษณะเฉพาะของอุตสาหกรรมอ้อยและ นำ้ตาลนี้ ส่งผลให้ในการผลิตนำ้ตาลทรายในแต่ละปีจึงมีรายงานพื้นที่ปลูกอ้อยและปริมาณผลผลิตอ้อยเพื่อส่ง โรงงาน การผลิต การพยากรณ์พื้นที่เพาะปลูกอ้อยและผลผลิตน้ำตาลทรายในแต่ละปี ในปริมาณที่ค่อนข้าง แม่นยำและชัดเจน อีกทั้งในการผลิตน้ำตาลทรายจำเป็นต้องอาศัยโรงงานน้ำตาล ซึ่งเป็นโรงงานอุสาหกรรมที่ ต้องมีการลงทุนสูงและมีความต้องการใช้พลังงานเพื่อการผลิตโดยเฉพาะพลังงานความร้อนอย่างมหาศาล  ตั้งแต่กระบวนการหีบน้ำอ้อยจากต้นอ้อย การทำใสน้ำอ้อย การต้มน้ำอ้อย การเคี่ยวน้ำเชื่อม ตลอดจน กระบวนการตกผลึกจนได้น้ำตาลทราย แม้ว่าโรงงานน้ำตาลจะมีความต้องการใช้พลังงานความร้อนอย่างมหาศาล โรงงานน้ำตาลก็มีข้อได้เปรียบตรงที่หลังจากกระบวนการหีบน้ำอ้อย จะมี ชานอ้อย เกิดขึ้นอย่าง มหาศาลเช่นกัน ชานอ้อย (Bagasse) เป็นผลพลอยได้ที่เหลือจากกระบวนการหีบอ้อยที่ได้สกัดเอาน้ำอ้อย ออกไป ชานอ้อยที่เหลือนี้จะมี ปริมาณน้ำตาลติดอยู่น้อยมาก ส่วนใหญ่จะเหลือเป็นเส้นใยอ้อย (Fiber) กับน้ำที่ อยู่ในรูปของความชื้นและของแข็งที่ละลายน้ำได้เล็กน้อย ปริมาณชานอ้อยที่ได้เกิดขึ้นจากการหีบอ้อยคิดเป็น ร้อยละโดยประมาณเฉลี่ยที่ 29 ของปริมาณอ้อยที่เข้าหีบ [2] มีความชื้นร้อยละโดยประมาณอยู่ระหว่าง 48- 53 มีความหนาแน่นค่อนข้างต่้า ประมาณ 160 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร มีคุณสมบัติติดไฟง่าย [3] ชานอ้อย ประกอบด้วยธาตุหลักคือ คาร์บอน (C) ไฮโดรเจน (H) ออกซิเจน (O) และไนโตรเจน (N) มีค่าความร้อนต่้าของ เชื้อเพลิง (Low Heating Value) ที่ 7.53 MJ/kg (ที่มา: สำนักกำกับและอนุรักษ์พลังงาน กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน) ชานอ้อยที่เกิดขึ้นมีคุณสมบัติที่เหมาะสมสามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงของเตาหม้อน้ำ

โรงงานผลิตน้ำตาลเป็นโรงงานอุตสาหกรรมที่ทำงานตามฤดูของการปลูกอ้อย โดยในปัจจุบัน โรงงานผลิตน้ำตาลจะแบ่งช่วงการทำงานเป็น 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูเปิดหีบอ้อย มีระยะเวลายาวนานประมาณ 4-5  เดือน ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนเมษายนของทุกปีเป็นช่วงเวลาแปรสภาพอ้อยให้เป็นน้ำตาล ฤดูที่ 2 คือ  ฤดูละลายมีระยะเวลายาวนานประมาณ 3-4 เดือน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคมของทุกปี เป็นช่วงที่มีกิจกรรมหลักคือ การผลิตน้ำตาลทรายจากน้ำตาลทรายดิบ ไม่มีการหีบอ้อยในฤดูนี้ และในช่วงเดือนที่เหลือ ก่อนการเปิดหีบครั้งต่อไปคือ ฤดูที่ 3

(Boiler) ใช้ผลิตไอน้ำสำหรับเป็นแหล่งพลังงานความร้อนในกระบวนการผลิตน้ำตาล ไอน้ำที่ผลิตได้จะถูก นำไปใช้ในกระบวนการผลิตน้ำตาลโดยผ่านเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน และนอกจากนี้ไอน้ำที่ผลิตได้สามารถ นำไปผลิตกระแสไฟฟ้าใช้ในโรงงานด้วยการนำไปขับกังหันไอน้ำ (Turbine) เพื่อผลิตไฟฟ้าด้วยเครื่องกำเนิดไฟฟ้า บางโรงงานสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้เหลือใช้และสามารถจำหน่ายให้กับการไฟฟ้า (มีข้อมูลระบุว่า ใน กระบวนการผลิตน้ำตาลอ้อยสดจ้านวน 1 ตัน เมื่อผ่านกระบวนการแปรรูปต่างๆ จะใช้พลังงานทั้งสิ้น โดยประมาณ25-30 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง ใช้ไอน้ำ 0.4 ตัน เพื่อให้ได้น้ำตาล ที่เหลือจะเป็นชานอ้อย เป็นวัสดุ เหลือจากกระบวนการผลิตประมาณ 290 กิโลกรัม ที่มีค่าเทียบเท่ากับพลังงานไฟฟ้าได้ถึง 100 กิโลวัตต์ต่อ ชั่วโมง [2]) 

โรงงานผลิตน้ำตาลเป็นโรงงานอุตสาหกรรมที่ทำงานตามฤดูของการปลูกอ้อย โดยในปัจจุบัน โรงงานผลิตน้ำตาลจะแบ่งช่วงการทำงานเป็น 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูเปิดหีบอ้อย มีระยะเวลายาวนานประมาณ 4-5  เดือน ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนเมษายนของทุกปีเป็นช่วงเวลาแปรสภาพอ้อยให้เป็นน้ำตาล ฤดูที่ 2 คือ  ฤดูละลายมีระยะเวลายาวนานประมาณ 3-4 เดือน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคมของทุกปี เป็นช่วงที่ 

มีกิจกรรมหลักคือ การผลิตน้ำตาลทรายจากน้ำตาลทรายดิบ ไม่มีการหีบอ้อยในฤดูนี้ และในช่วงเดือนที่เหลือ ก่อนการเปิดหีบครั้งต่อไปคือ ฤดูที่ 3 ฤดูซ่อมบ้ารุง โรงงานจะด้าเนินการซ่อมแซมเครื่องจักรทั้งหมดเพื่อเตรียม ความพร้อมสำหรับการผลิต ตลอดทั้งปีโดยไม่มีการหีบอ้อยเช่นเดียวกันกับฤดูละลาย ปริมาณชานอ้อยที่ โรงงานน้ำตาลใช้ตลอดทั้งปีนั้นจะเกิดขึ้นในระยะเวลาสั้นๆ เพียง 4-5 เดือนเท่านั้น เมื่อกระบวนการหีบอ้อย หยุดลง ทั้งฤดูละลาย และฤดูซ่อมบำรุง ก็ยังคงต้องใช้พลังงานทั้งจากไอน้ำและไฟฟ้าหากมีการบริหารจัดการ การใช้ชานอ้อยได้อย่างเหมาะสม โรงงานน้ำตาลก็ไม่จำเป็นต้องซื้อกระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้าเพื่อนำมาใช้ในโรงงาน และหากมีการพัฒนาเทคโนโลยีประสิทธิภาพกังหันไอน้ำ(Turbine) ให้มีประสิทธิภาพสูงมากยิ่งขึ้น  ชานอ้อยที่มีเหลือในโรงงานน้ำตาลก็จะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าขายกลับไปให้กับการไฟฟ้าได้ 

error: Content is protected !!